เลือกประเทศ / ภูมิภาคของคุณ

บทคัดย่อทางคลินิก

ความเป็นมา

ความชุกของการแพ้ยางธรรมชาติที่เกิดจากการทำงานอยู่ที่ร้อยละ 8-17 หน่วยงานด้านสุขภาพมากมายลังเลที่จะเปลี่ยนไปเป็นสภาพแวดล้อมที่ปราศจากยางธรรมชาติ เนื่องจากต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการปรับเปลี่ยนนี้ ภาพรวม

OVERVIEW

หน่วยงานสุขภาพ 3 แห่ง (โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ โรงพยาบาลชุมชน และคลินิกผู้ป่วยนอก) ในรัฐจอร์เจียถูกนำมาศึกษาเปรียบเทียบในเรื่องจำนวนพนักงานที่ไม่สามารถทำงานได้บางส่วนหรือทั้งหมดสำหรับหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อหา “จุดคุ้มทุน” ในการเปลี่ยนจากถุงมือยางธรรมชาติไปเป็นสภาพแวดล้อมที่ปลอดยางธรรมชาติ ต้นทุนการใช้ถุงมือ ต้นทุนการวินิจฉัย ต้นทุนการทุพพลภาพ และต้นทุนที่ไม่ได้ถูกนำมาวิเคราะห์ทั้งหมด

ผลลัพธ์

หากพิจารณาที่ต้นทุนการเปลี่ยนจากถุงมือยางธรรมชาติไปเป็นยางสังเคราะห์เพียงอย่างเดียว จะเห็นว่าต้นทุนสำหรับแต่ละหน่วยงานย่อมเพิ่มขึ้น แต่ถ้ามองที่ต้นทุนถุงมือยางสังเคราะห์ และความเป็นไปได้/ความน่าจะเป็นที่บุคลากรทางการแพทย์จะไม่สามารถทำงานได้บางส่วนหรือทั้งหมดเนื่องจากการแพ้ยางธรรมชาติแล้ว จะเห็นได้ว่าการเปลี่ยนไปใช้ถุงมือปลอดยางธรรมชาติจะคุ้มค่ามากกว่าสำหรับแต่ละหน่วยงาน

บทสรุป

สำหรับโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ ซึ่งมีการใช้งานถุงมือชนิดปลอดเชื้อ/ไม่ปลอดเชื้อมากที่สุด จุด “คุ้มทุน” ของการเปลี่ยนไปใช้สภาพแวดล้อมที่ปราศจากยางธรรมชาติอยู่ที่พนักงานร้อยละ 1.07 (5 คน) ที่ไม่สามารถทำงานได้อย่างสิ้นเชิงจากการแพ้ยางธรรมชาติ หรือ (เป็นไปได้มากกว่า) พนักงานร้อยละ 1.88 (9 คน) ที่ทำงานไม่ได้บางส่วน เมื่อพิจารณาปัจจัยทั้งหมดแล้ว การศึกษานี้ยังพิสูจน์ว่าการเปลี่ยนไปเป็นสภาพแวดล้อมปลอดยางธรรมชาติด้วยการใช้ถุงมือยางสังเคราะห์จะเป็นประโยชน์ด้านต้นทุนต่อหน่วยงานสุขภาพทั้ง 3 แห่ง

By: LTC Daniel J. Reese, DE USA: COL Robert B. Reichi, DE USA; COL Judith McCollum, DE USA

ความเป็นมา

ระหว่างช่วงทศวรรษที่ 1990 การแพ้ยางธรรมชาติกลายเป็นโรคระบาดใหม่ ใน ค.ศ. 1987 CDC บังคับให้ใช้ PPE สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ที่อาจต้องสัมผัสกับสารคัดหลั่งจากร่างกาย ใน ค.ศ. 1982 OSHA กำหนดมาตรฐานเชื้อก่อโรคจากเลือด ขณะที่ถุงมือเป็นที่ต้องการและมีการผลิตเพิ่มขึ้น จึงมีการเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิต และเริ่มนำสารเคมีมาใช้เพิ่มขึ้นซึ่งส่งผลให้เกิดโปรตีนเพิ่มขึ้น

ภาพรวม

บทความนี้แสดงภาพรวมเกี่ยวกับข้อกังวล การทดสอบ การลดต้นทุน และกลยุทธ์การป้องกันยางธรรมชาติทั้งหมด ปฏิกิริยาต่อถุงมือยางธรรมชาติมีอยู่ด้วยกัน 3 ประเภท กลุ่มบุคคลที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดการแพ้ยางธรรมชาติ (NRL) คือ ผู้ให้บริการด้านสุขภาพ เด็ก ๆ ที่เป็นโรคสไปนาไบฟิดา และพนักงานฝ่ายผลิตสินค้า NRL ทั้งนี้ยังมีการสังเกตเห็นถึงความสัมพันธ์ที่ชัดเจนว่า ผู้ที่แพ้อาหารมักมีความเสี่ยงสูงที่จะแพ้ NRL มีคำแนะนำให้ผู้ให้บริการด้านสุขภาพตระหนัก และได้รับความรู้ที่ดีขึ้นเกี่ยวกับการรักษา อาการ สัญญาณ และผลที่เป็นไปได้ของการแพ้ยางธรรมชาติ

ผลลัพธ์

บทความนี้สำรวจนัยยะทางคลินิกและต้นทุนที่เกี่ยวข้องหากไม่แก้ปัญหาการแพ้ยางธรรมชาติ ในทางคลินิก เห็นได้ชัดว่าถุงมือเป็นแหล่งสัมผัสยางธรรมชาติสูงสุดในวงการสุขภาพ จึงมีการส่งเสริมให้บุคลากรทางการแพทย์พิจารณาเปลี่ยนไปใช้ถุงมือยางสังเคราะห์ มีคำแนะนำให้ผู้บริหารด้านสุขภาพพิจารณาตัวแปรทั้งหมดที่มีผลเกี่ยวข้องกับการแพ้ยางธรรมชาติที่เกิดขึ้นกับพนักงานนอกเหนือจากต้นทุนเพียงอย่างเดียว และเพื่อพิจารณาว่า ต้องจ่ายค่าชดเชยในกรณีที่พนักงานไม่สามารถทำงานได้เนื่องจากแพ้ยางธรรมชาติตามกฎหมายแรงงาน

บทสรุป

สภาพแวดล้อมของการดูแลสุขภาพเป็นภัยคุกคามที่สำคัญที่สุดสำหรับผู้ที่แพ้ยางธรรมชาติ มีคำแนะนำอย่างยิ่งให้ผู้จัดการความเสี่ยงเปลี่ยนสถานที่ทำงานเป็นแบบปลอดยางธรรมชาติเพื่อป้องกันพนักงานและผู้ป่วยจากการแพ้ยางธรรมชาติ และหลีกเลี่ยงความรับผิดที่อาจเกิดขึ้นได้่

By: V.J. Lewis, M.M.U. Chowdhury, and B.N. Statham

ความเป็นมา

มีการติดตามผู้ป่วยที่แพ้ NRL (ยางธรรมชาติ) 50 รายด้วยแบบสอบถามทางไปรษณีย์ เพื่อดูว่าพวกเขามีวิถีชีวิตและคุณภาพชีวิตเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรนับตั้งแต่ที่มีการทดสอบและวินิจฉัยว่าแพ้ NRL ระหว่างช่วง ค.ศ. 1994-2003

ภาพรวม

มีการส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์ไปยังผู้ป่วย 50 รายที่ทดสอบและวินิจฉัยแล้วว่าแพ้ NRL คำถามที่สอบถามผู้ป่วย คือ ผู้ป่วยต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านอาการ อาชีพ การแพ้อาหารอื่น ๆ และวิถีชีวิตบ้างหรือไม่นับตั้งแต่มีการวินิจฉัย

ผลลัพธ์

ผู้ป่วย 36 จาก 50 ราย (ร้อยละ 72) ที่ตอบกลับแบบสำรวจนี้เป็นผู้ที่สัมผัสกับยางธรรมชาติอย่างต่อเนื่อง ร้อยละ 42 เป็นพยาบาล และร้อยละ 61 เป็นบุคลากรทางการแพทย์ ผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมดที่สัมผัสกับยางธรรมชาติเป็นประจำร้อยละ 85 พบว่าอาการแพ้ดีขึ้นเมื่อเปลี่ยนไปใช้ถุงมือยางสังเคราะห์ ร้อยละ 58 รู้สึกว่านายจ้างเต็มใจช่วยเหลือพวกเขาเกี่ยวกับอาการแพ้ และร้อยละ 25 จำเป็นต้องเปลี่ยนอาชีพเนื่องจากการแพ้ NRL

บทสรุป

การศึกษาสรุปว่านายจ้าง ทันตแพทย์ และแพทย์ ยังคงไม่ได้รับข้อมูลมากพอเกี่ยวกับการแพ้ NRL และวิธีการช่วยเหลือพนักงานและผู้ป่วยของตน บุคคลกลุ่มนี้จำเป็นต้องได้รับความรู้เพิ่มเติมและตระหนักถึงโรคภูมิแพ้ที่พบได้บ่อยนี้เกี่ยวกับวิธีตอบสนองความต้องการของผู้ป่วยในการรักษา ผู้ป่วยประมาณร้อยละ 33 พบความยากลำบากจากปฏิกิริยาการแพ้ยางธรรมชาติเมื่อเข้าพบแพทย์ จึงเป็นเรื่องสำคัญที่นายจ้าง ทันตแพทย์ และแพทย์ ต้องตอบสนองความต้องการของพนักงานในที่ทำงาน

Download Clinical Summary as a PDF
By: Sultan Al-Otaibi, Susan M. Tarlo, and Ronald House

ความเป็นมา

การศึกษานี้จัดทำขึ้นเพื่อสำรวจผู้ป่วยที่คลินิกภูมิแพ้ที่วินิจฉัยว่าแพ้ยางธรรมชาติ เมื่อผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยแล้ว จะมีการตรวจสอบผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต (QOL) ของผู้ป่วย

ภาพรวม

มีการส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์ไปยังผู้เข้าร่วม 56 ราย ซึ่งได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคผื่นแพ้ โรคลมพิษ โรคแองจิโออีดีมา โรคเยื่อบุตา-จมูกอักเสบ และโรคแอนาฟิแล็กซิส คำถามขอให้ผู้ป่วยให้คะแนนผลกระทบของการแพ้ยางธรรมชาติต่อกิจกรรมต่าง ๆ ที่สำคัญกับคุณภาพชีวิตของพวกเขาตั้งแต่ระดับ 0-6 และให้ระบุความรุนแรงและความถี่ของอาการที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย

ผลลัพธ์

มีแบบสอบถาม 31 ชุด จากทั้งหมด 56 ชุดที่กรอกสมบูรณ์และส่งกลับมา ผู้ตอบ 30 จาก 31 รายเป็นบุคลากรทางการแพทย์ ผู้ป่วยร้อยละ 43 ที่เป็นโรคแอนาฟิแล็กซิสให้คะแนนอย่างน้อย “3” เกี่ยวกับ “ความรู้สึกเครียดหรือกังวล” เนื่องจากปฏิกิริยาแพ้นี้ ผู้ตอบแบบสอบถาม 13 จาก 31 รายเปลี่ยนงานเนื่องจากการแพ้ยางธรรมชาติ ผู้ป่วย 17 ราย (ร้อยละ 55) รายงานว่าเพื่อนร่วมงานได้เปลี่ยนการใช้ถุงมือยางธรรมชาติชนิดมีแป้ง เนื่องจากมีเพื่อนร่วมงานแพ้ยางธรรมชาติ

บทสรุป

เมื่อเวลาผ่านไปหลังจากการวินิจฉัย การแพ้ยางธรรมชาติจะส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยน้อยลงไปด้วย ผลลัพธ์เชิงบวกของการศึกษานี้แสดงว่า แม้จะเกิดการแพ้ยางธรรมชาติมากมาย แต่ก็ไม่ส่งผลอย่างมีนัยสำคัญต่อคุณภาพชีวิตนัก ผู้ป่วยส่วนใหญ่สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงภายในอาชีพและ/หรือที่ทำงานของพวกเขาสามารถเปลี่ยนแปลงเพื่อหลีกเลี่ยงยางธรรมชาติให้เหมาะกับความต้องการของพวกเขาได้

Download Clinical Summary as a PDF

By: E. Turillazzi, P. Greco, M. Neri, C. Pomara, I. Riezo, V. Fineschi

ความเป็นมา

มีบุคคลหลายกลุ่มที่เสี่ยงจะเกิดปฏิกิริยาแพ้ยางธรรมชาติแบบแอนาฟิแล็กซิสระหว่างขั้นตอนการผ่าตัดและการรักษา หนึ่งในกลุ่มนี้คือกลุ่มสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา ขั้นตอนทางสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยามีผลต่อการแพ้ยางธรรมชาติถึง ร้อยละ 50 จากทั้งหมด

ภาพรวม

ผู้เขียนตรวจสอบการแพ้ยางธรรมชาติที่ไม่ได้วินิจฉัยในผู้หญิงอายุ 33 ปี ซึ่งเกิดอาการแอนาฟิแล็กซิสจากยางธรรมชาติระหว่างผ่าคลอด ระหว่างการผ่าตัดในวันหลังการผ่าคลอด เธอเกิดอาการแอนาฟิแล็กซิสจากยางธรรมชาติอีกครั้งซึ่งทำให้หัวใจหยุดเต้น เธอไม่เคยมีประวัติการแพ้ยางธรรมชาติก่อนการผ่าคลอดครั้งที่ 3 และการผ่าตัดต่อเนื่องที่เกิดขึ้นภายหลังนี้ รายงานการเสียชีวิตของเธอ คือ ภาวะช็อกเหตุแอนาฟิแล็กซิสจากยางธรรมชาติ การศึกษานี้ดูปัจจัยทั้งหมดที่สามารถมีส่วนต่อการแพ้ยางธรรมชาติที่ไม่ได้วินิจฉัยนี้ และปัจจัยที่นำไปสู่ความเสี่ยงระดับสูงของการแพ้ยางธรรมชาติในผู้ป่วยกลุ่มสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา

ผลลัพธ์

มีปัจจัยมากมายที่ทำให้ผู้ป่วยในกลุ่มสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยามีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดแอนาฟิแล็กซิสจากยางธรรมชาติ โดยธรรมชาติแล้ว ผู้หญิงมีแนวโน้มแพ้สิ่งที่ผลิตจาก NRL (ยางธรรมชาติ) ในที่ทำงานและชีวิตประจำวัน อีกปัจจัยคือการสัมผัสกับยางธรรมชาติระหว่างการตรวจภายใน และการคลอดทางช่องคลอดผ่านการสัมผัสเยื่อบุช่องคลอด สุดท้ายการฉีดฮอร์โมนออกซิโตซินเพื่อเพิ่มการบีบตัวของมดลูกอาจเป็นสาเหตุให้เศษยางธรรมชาติจากมดลูกหลุดเข้าสู่กระแสเลือดได้

บทสรุป

มีคำแนะนำให้แพทย์ต่าง ๆ ตรวจสอบปัจจัยทางการแพทย์ของผู้ป่วยก่อนที่จะทำหัตถการด้านสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา ผู้ป่วยที่ผ่านการผ่าตัดหลายครั้งและผู้ป่วยที่แพ้ผลไม้ (เช่น เกาลัค มะเดื่อ กล้วย) มีความเสี่ยงสูงขึ้นที่จะแพ้ยางธรรมชาติ ภาวะช็อกที่เกิดจากเหตุแอนาฟิแล็กซิสจากยางธรรมชาตินั้นวินิจฉัยได้ยาก เนื่องจากมีตัวชี้วัดมากมายที่เหมือนกับการบ่งชี้ทางคลินิกอื่น ๆ และเนื่องจากอาการที่แสดงล่าช้าหลังจากเริ่มต้นการผ่าตัดไปแล้ว

By: C. Karila, D. Brunet-Langot, F. Labbez, O. Jacqmarcq, C. Ponvert, J. Paupe, P. Scheinmann, J. de Blic

ความเป็นมา

มีการรายงานอุบัติการของเด็ก 68 รายไปยังหน่วยงานระบบหายใจและโรคภูมิแพ้กุมารเวช ในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เนื่องจากการเกิดภาวะแอนาฟิแล็กซิสระหว่างการดมยาสลบ การศึกษานี้ดูที่การทดสอบต่าง ๆ เพื่อดูว่าสารใดที่เป็นต้นเหตุของปฏิกิริยานี้

ภาพรวม

ช่วงเวลาระหว่าง ค.ศ. 1989 ถึง 2001 มีเด็ก 68 รายได้รับการทดสอบประสบการณ์จากภาวะแอนาฟิแล็กซิสช็อกระหว่างการดมยาสลบ การศึกษาตรวจสอบว่ายาตัวใดที่เกี่ยวข้อง และจำเป็นต้องทดสอบกับผิวหนังเพื่อจัดการกระบวนการระงับความรู้สึกในอนาคต

ผลลัพธ์

ในผลการศึกษาที่ยาวนานถึง 12 ปี มีเด็ก 51 รายได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคแอนาฟิแล็กซิสจาก IgE (ร้อยละ 60.8) หรือเด็ก 31 รายได้รับยาระงับความรู้สึกผ่านจากจุดต่อเส้นประสาทและกล้ามเนื้อ (NMBA) และเด็ก (ร้อยละ 27) 14 รายแพ้ยางธรรมชาติ มีการค้นพบว่าในกระบวนการระงับความรู้สึก 1 ครั้งจากทุก ๆ 2100 ครั้งจะเกิดเหตุแอนาฟิแล็กซิสจาก IgE ได้ จำนวนดังกล่าวนี้สูงกว่าที่คาดการณ์ไว้มาก

บทสรุป

NMBA และยางธรรมชาติมีส่วนมากที่สุด 2 อันดับแรกต่อการเกิดปฏิกิริยาแอนาฟิแล็กซิสจาก IgE ในเด็ก ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยางธรรมชาติเมื่อผ่าตัดเด็กที่ต้องผ่าตัดหลายครั้งโดยดมยาสลบ ทั้งนี้ยังค้นพบอีกว่า การปรึกษากับทั้งวิสัญญีแพทย์และผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิแพ้นั้นมีประโยชน์เมื่อเกิดเหตุแอนาฟิแล็กซิสและหลังผลการทดสอบผิวหนังเป็นบวก เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุขึ้นอีก

Download Clinical Summary as a PDF

By: I. Murat and A. Greco

ความเป็นมา

ความเสี่ยงของการเสียชีวิตจากการระงับความรู้สึกนั้นค่อนข้างต่ำ แต่มีการรายงานถึงการเสียชีวิต/ความเจ็บป่วยของเด็กทารกอายุน้อยกว่า 1 ปีที่เกี่ยวข้องกับการระงับความรู้สึก การเสียชีวิตจากการระงับความรู้สึกในเด็ก แม้ว่ามีระดับต่ำ แต่ก็ไม่ควรเป็นตัวชี้วัดเพียงข้อเดียวของปัจจัยความเสี่ยงสำหรับการระงับความรู้สึกในเด็ก

ภาพรวม

สิ่งที่การตรวจสอบนี้มุ่งเน้นคือการพิจารณาความเสี่ยงทั้งหมดและปัจจัยที่มีผลต่อการเสียชีวิตและการเจ็บป่วยจากการระงับความรู้สึกในเด็ก และสำรวจข้อเสนอของการป้องกันที่เป็นไปได้ ปัจจัยเสี่ยงของการระงับความรู้สึกในกุมารเวชที่สังเกตพบ ได้แก่: ภาวะหัวใจหยุดเต้น ภาวะหัวใจเต้นช้าระหว่างการผ่าตัด ภาวะแทรกซ้อนของระบบทางเดินหายใจ ขาดการประเมินการสูญเสียเลือด และการสำลักน้ำในกระเพาะ สิ่งเหล่านี้เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยขึ้นในเด็กที่อายุน้อยกว่า 1 ปี

ผลลัพธ์

มีการพบว่าการระงับความรู้สึกเฉพาะที่นั้นมีอัตราความสำเร็จสูงมากเมื่อปฏิบัติตามหลักปฏิบัติด้านการระงับความรู้สึกที่ดี มีข้อสังเกตว่า เมื่อสำรวจสาเหตุการเสียชีวิตเนื่องจากการระงับความรู้สึกในเด็ก (เวลาและการให้เลือด และภาวะโซเดียมในเลือดสูงเนื่องจากแพทย์ทำ) วิสัญญีแพทย์ทั้งที่มีและไม่มีประสบการณ์ควรได้รับความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับหลักปฏิบัติที่ดีที่สุดในปัจจุบัน และตรวจสอบการจัดระเบียบหลักปฏิบัติปัจจุบันใหม่

บทสรุป

ปัจจัยที่ช่วยลดความเสี่ยงของการระงับความรู้สึกของกุมารเวชคือการใช้วิสัญญีแพทย์ที่มีประสบการณ์ในการดมยาเด็ก เหตุแทรกซ้อนในการระงับความรู้สึกในเด็กลดลงจาก 7 ครั้งต่อผู้ป่วย 1000 ราย เมื่อใช้วิสัญญีแพทย์ที่เคยรักษาผู้ป่วยเด็กน้อยกว่า 100 คน เหลือ 1.3 ครั้งต่อผู้ป่วย 1000 รายเมื่อใช้วิสัญญีแพทย์ที่รักษาเด็กมากกว่า 200 คนต่อปี หลักปฏิบัติในการระงับความรู้สึกอื่นๆ หลายข้อที่ปรับปรุงให้ดีขึ้นนั้นลดความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนโดยรวมได้ สำหรับการระงับความรู้สึกเฉพาะที่ในเด็กแนะนำให้เปลี่ยนจากยาฮาโลเทนเป็นยาเซโวฟลูเรน รวมถึงการตรวจติดตามที่ดีขึ้น และเปลี่ยนเป็นยาระงับความรู้สึกเฉพาะที่รุ่นใหม่ในตลาด

By: F. Delaunay, V. Blasco

ความเป็นมา

ในช่วงเวลา 5 ปี มีการเกิดภาวะช็อกจากเหตุแอนาฟิแล็กซิสระหว่างการผ่าคลอด 2 ครั้งที่เชื่อมโยงกับอาการแพ้ยางธรรมชาติที่กัวเดอลุป (หมู่เกาะเวสต์อินดีสของฝรั่งเศส) มีการตัดสินใจให้สืบสวนเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อกังวลด้านสภาพแวดล้อมใด ๆ รวมถึงขั้นตอนการผ่าตัดที่อาจส่งผลกระทบต่อปฏิกิริยาดังกล่าวนี้

ภาพรวม

มีการรายงานภาวะช็อกจากเหตุแอนาฟิแล็กซิส 2 กรณีระหว่างการผ่าคลอด ซึ่งมีสาเหตุจากยางธรรมชาติ สาเหตุของอุบัติการณ์นี้จำเป็นต้องมีการสืบสวนเพิ่มเติม เนื่องจากไม่มีประวัติรายงานถึงการแพ้ยางธรรมชาติมาก่อน

ผลลัพธ์

การศึกษานี้ระบุว่าต้องมีการสืบสวนเพิ่มเติมว่าการแพ้ยางธรรมชาติอาจเกิดได้บ่อยขึ้น เนื่องจากการปรากฏและการสัมผัสกับต้นยางพาราและ/หรือผลไม้เขตร้อนชื้น ต้นยางพาราพบได้ทั่วไปในหมู่เกาะเวสต์อินดีส

บทสรุป

การศึกษานี้สรุปว่าต้องมีการสืบสวนเพิ่มเติมในประเทศโพ้นทะเลเขตร้อนชื้น ซึ่งอาจมีปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมเพิ่มเติมที่ส่งผลต่อการแพ้ยางธรรมชาติ นอกจากนี้ การศึกษายังระบุถึงความคุ้มค่าต่อการลงทุน และความจำเป็นที่ต้องมีแผนกสูติกรรมที่ปลอดยางธรรมชาติ ซึ่งอาจนำไปสู่การยกเลิกการใช้ยางธรรมชาติในแผนกสูติกรรม และ/หรือบังคับใช้กลยุทธ์การป้องกันที่เหมาะสม

Download Clinical Summary as a PDF
By: H. Hollnberger, E. Gruber, and B. Frank

ความเป็นมา

การศึกษาเชิงสืบสวน กรณีเด็กชายอายุ 8 ปี ซึ่งเข้ารับการผ่าตัดแบบไม่เร่งด่วน และเกิดภาวะช็อกจากเหตุแอนาฟิแล็กซิสขั้นรุนแรง ภาวะช็อกจากเหตุแอนาฟิแล็กซิสนี้เกิดจากการแพ้ยางธรรมชาติ แต่แพทย์ไม่ทราบเรื่องนี้ก่อนการผ่าตัด

ภาพรวม

อัตราส่วนการเกิดภาวะช็อกจากเหตุแอนาฟิแล็กซิสขั้นรุนแรงคือ 1:6000 ในการดมยาสลบ หรือ 1:7741 ในเด็ก ในเด็ก ภาวะแอนาฟิแล็กซิสร้อยละ 76 มีความเกี่ยวข้องกับยางธรรมชาติ และร้อยละ 95 เกิดจากยาคลายกล้ามเนื้อ การรายงานกรณีนี้ดูที่ปัจจัยทั้งหมดซึ่งบุคลากรด้านการแพทย์ เด็ก ผู้ใหญ่ และเด็กที่เป็นโรคสไปนาไบฟิดา เกิดอาการไวต่อยางธรรมชาติ

ผลลัพธ์

เด็กที่เป็นโรคสไปนาไบฟิดามีโอกาสร้อยละ 72 ที่จะมีความรู้สึกไวกับยางธรรมชาติเกินไป เด็กที่ผ่านการผ่าตัดอย่างน้อย 1 ครั้งก่อนอายุ 6 เดือนมีโอกาสไวต่อยางธรรมชาติมากเกินไปร้อยละ 25 ในขณะที่ผู้ที่แพ้ผลไม้บางอย่าง บุคลากรด้านการแพทย์ (แพทย์ พยาบาลห้องผ่าตัด และวิสัญญีแพทย์มีอันดับสูงสุด) มีโอกาสแพ้ยางธรรมชาติระหว่างร้อยละ 5-17 และคนที่ผ่าตัดมามากกว่า 8 ครั้งขึ้นไปมีความเสี่ยงที่จะแพ้ยางธรรมชาติสูงขึ้น

บทสรุป

เด็กอายุ 8 ปี ไม่เคยมีประวัติการแพ้ยางธรรมชาติ แต่ถือว่ามีความเสี่ยงสูงเนื่องจากการเคยผ่าตัดมาแล้วหลายครั้ง แม้ว่าภาวะช็อกจากเหตุแอนาฟิแล็กซิสพบได้น้อยครั้งระหว่างการดมยา แต่การแพ้ยางธรรมชาติก็เป็นสาเหตุส่วนใหญ่ของเหตุการณ์เหล่านี้ และมีอัตราการเสียชีวิตและเจ็บป่วยในระดับที่สูง อาการแพ้ผลไม้ยังเพิ่มโอกาสที่จะแพ้ยางธรรมชาติด้วย แพทย์ควรสอบถามเกี่ยวกับอาการแพ้อาหาร และจำนวนการผ่าตัดที่ผ่านมาทั้งหมด มีคำแนะนำอย่างยิ่งว่าโรงพยาบาลควรกำหนดให้กระบวนการผ่าตัดตามมาตรฐานนั้นต้องปลอดจากยางธรรมชาติอย่างเด็ดขาด

Download Clinical Summary as a PDF
By: Mathilde de Queiroz MD, Sylvie Combet MD, Jerome Berard MD PhD, Agnes Pouyau MD, Helene Genest RN, Pierre Mouriquand MD PhD and Dominique Chassard MD PhD

ความเป็นมา

ความชุกของโรคภูมิแพ้ยางธรรมชาติ (NRL) หรือการแพ้ฉับพลันในเด็กนั้นแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับกลุ่มประชากรและระเบียบวิธีในการตรวจ เด็กที่มีความเสี่ยงที่จะแพ้ยางธรรมชาติสูงรวมถึงผู้ที่เป็นโรคสไปนาไบฟิดา เด็กที่เคยผ่าตัดในช่วงแรกเกิด และเด็กอื่น ๆ ที่จำเป็นต้องผ่าตัดหลายครั้ง ใน ค.ศ. 1997 เด็กอาุยุ 2 ปีที่ได้รับการปฐมพยาบาลฉุกเฉินที่ไม่ร้ายแรงเสียชีวิตจากภาวะช็อกจากเหตุแอนาฟิแล็กซิส ตามมาด้วยเหตุแอนาฟิแล็กซิสจากยางธรรมชาติขั้นรุนแรงอีก 2 กรณี

ภาพรวม

ยางธรรมชาติพบได้บ่อยในโรงพยาบาลที่มีความเสี่ยงที่เป็นอันตรายต่อชีวิต การแพ้ยางธรรมชาติเป็นสาเหตุอันดับ 2 ของปฏิกิริยาแอนาฟิแล็กซิสระหว่างการผ่าตัด การปรับใช้สภาพแวดล้อมที่ปลอดยางธรรมชาติเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญในการลดการเกิดการแพ้ยางธรรมชาติและปฏิกิริยาแอนาฟิแล็กซิสที่อาจเกิดขึ้นได้

ผลลัพธ์

ใน ค.ศ. 2002 โรงพยาบาลแห่งนี้นำกลยุทธ์การหลีกเลี่ยงยางธรรมชาติไปปรับใช้ 5 ปีหลังจากนั้นก็ไม่มีบันทึกการเกิดแอนาฟิแล็กซิสจากยางธรรมชาติในกลุ่มผู้ป่วยหรือบุคลากรทางการแพทย์อีกเลย โดยมีการผ่าตัดมากถึง 25,000 ครั้ง ต้นทุนเพิ่มเติมใด ๆ ที่เกิดขึ้นในการเปลี่ยนไปใช้สภาพแวดล้อมที่ปลอดยางธรรมชาติได้รับการชดเชยแล้วจากการไม่ต้องทดสอบสารก่อภูิมิแพ้ การพักรักษาตัวในโรงพยาบาลจากเหตุแพ้และค่าชดเชยพนักงานที่ลดลง

บทสรุป

การแพ้ยางธรรมชาติเป็นความเสี่ยงทางสุขภาพที่มีนัยสำคัญ และควรลดการสัมผัสกับยางธรรมชาติโดยเฉพาะในเด็กแรกเกิด เด็ก บุคลากรทางการแพทย์และผู้ที่เป็นภูมิแพ้กรรมพันธ์ทั้งหมด การหลีกเลี่ยงยางธรรมชาติอย่างสิ้นเชิงทั้งในและบริเวณโดยรอบห้องผ่าตัดเป็นมาตรการที่มีประสิทธิภาพที่สุด

Download Clinical Summary as a PDF
By: K. Blumchen, P. Bayer, D. Buck, T. Michael, R. Cremer, C. Fricke, T. Henne, H. Peters, U. Hofmann, T. Keil, M. Schlaud, U. Wahn & B. Niggemann

ความเป็นมา

เด็กที่เป็นโรคสไปนาไบฟิดา (SB) มีความเสี่ยงที่จะแพ้ยางธรรมชาติ ในกลุ่ม Charite ก่อนที่จะมีการสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดยางธรรมชาตินั้น เด็กที่เป็นโรค SB แสดงภาวะภูมิแพ้กรรมพันธุ์มากกว่าเด็กอื่น ๆ เกือบ 2 เท่า และร้อยละ 50 ของอัตราการเกิดภูมิแพ้นั้นมีเด็กเป็นโรค SB ที่การแพ้ยางธรรมชาติถึงร้อยละ 33 มีการกำหนดให้ใช้การผ่าตัดที่ปลอดยางธรรมชาติสำหรับเด็กที่เป็นโรค SB เมื่อ 10 ปีก่อน จนทำให้อุบัติการณ์การแพ้และภูมิแพ้ในกลุ่มนี้ลดลง

ภาพรวม

ยางธรรมชาติ (NRL) พบได้บ่อยมากในโรงพยาบาลซึ่งถือเป็นความเสี่ยงต่อชีวิต การแพ้ยางธรรมชาติเป็นสาเหตุอันดับ 2 ของปฏิกิริยาแอนาฟิแล็กซิสระหว่างการผ่าตัด การปรับใช้สภาพแวดล้อมที่ปลอดยางธรรมชาติเป็นการดำเนินการที่สำคัญที่สุดในการลดการเกิดการแพ้ยางธรรมชาติและปฏิกิริยาแอนาฟิแล็กซิสที่อาจเกิดขึ้นได้

ผลลัพธ์

มีการประเมินเด็ก ๆ ที่เป็นโรค SB อายุระหว่าง 6 เดือนถึง 12.5 ปีจำนวน 120 ราย ระหว่างเดือนกันยายน ค.ศ. 2005 ถึงเดือนตุลาคม ค.ศ. 2006 มีการนำผู้ป่วยเหล่านี้ไปเปรียบเทียบกับผู้ป่วยโรค SB 87 รายที่เกิดก่อนการกำหนดมาตรการป้องกันโรคแบบปลอดยางธรรมชาติในเยอรมนี (1994) และผู้ที่ได้รับการผ่าตัดโดยใช้ยางธรรมชาติ เด็กที่เป็นโรค SB ร้อยละ 5 เท่านั้นที่แสดง IgE ของยางธรรมชาติ เทียบกับร้อยละ 55 ของกลุ่มควบคุม ซึ่งมากกว่ากันถึง 10 เท่า อาการแพ้ยางธรรมชาติที่เกี่ยวข้องทางคลินิกยังลดลงเช่นกัน เหลือเพียงร้อยละ 0.83 (1/120) เทียบกับ ร้อยละ 37.2 (32/86) ในกลุ่มควบคุม ความชุกของโรคภูมิแพ้กรรมพันธ์และภูมิแพ้ยางธรรมชาติในกลุ่มเด็กที่เป็นโรค SB ที่รับการผ่าตัดในสภาพแวดล้อมปลอดยางธรรมชาตินั้นถูกนำไปเปรียบเทียบกับประชากรเด็ก 12,403 คน

บทสรุป

อาการแพ้ยางธรรมชาติลดลงอย่างเห็นได้ชัดในสภาพแวดล้อมที่ปลอดยางธรรมชาติ นี่เป็นตัวอย่างของการป้องกันเบื้องต้น ซึ่งเด็กที่เป็นโรค SB ไม่ถูกกระตุ้นจากการสัมผัสเนื้อเยื่อโดยตรง การใช้สภาพแวดล้อมที่ปลอดยางธรรมชาติสำหรับเด็ก ๆ ที่เป็นโรค SB ตั้งแต่วันแรกของชีวิตป้องกันได้ทั้งอาการไวต่อสารก่อภูมิแพ้และอาการแพ้ที่เกี่ยวข้องกับยางธรรมชาติ

Download Clinical Summary as a PDF
By: Antonio Nieto, MD, Angel Mazón, MD, Rafael Pamies, MD, Amparo Lanuza, MD, Alberto Muñoz, MD, Francisco Estornell, MD, and Fernando García-Ibarra, MD

ความเป็นมา

เด็กที่เป็นโรคสไปนาไบฟิดา (SB) มีความเสี่ยงที่จะแพ้ยางธรรมชาติ บทความนี้ตรวจสอบความชุกของภาวะไวต่อยางธรรมชาติในเด็กที่เป็นโรค SB ซึ่งได้รับการรักษาด้วยถุงมือยางสังเคราะห์เท่านั้นในเวลา 6 ปีหลังจากยกเลิกการใช้ยางธรรมชาติในโรงพยาบาล La Fe ประเทศสเปน เทียบกับกลุ่มควบคุมที่เกิดก่อนการใช้การป้องกันเบื้องต้นแบบปลอดยางธรรมชาติ

ภาพรวม

การแพ้ยางธรรมชาติ (NRL) พบได้บ่อยมากในโรงพยาบาลซึ่งถือเป็นความเสี่ยงต่อชีวิต การแพ้ยางธรรมชาติเป็นสาเหตุอันดับ 2 ของปฏิกิริยาแอนาฟิแล็กซิสระหว่างการผ่าตัด การสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดยางธรรมชาติเป็นการดำเนินการที่สำคัญที่สุดในการลดการเกิดการแพ้ยางธรรมชาติ และปฏิกิริยาแอนาฟิแล็กซิสแบบรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นได้

ผลลัพธ์

เด็กที่เป็นโรค SB 22 รายที่เกิดหลังจากการเปลี่ยนไปใช้สภาพแวดล้อมที่ปลอดยางธรรมชาติได้รับการประเมินและเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมซึ่งประกอบด้วยเด็ก 15 คนที่เกิดก่อนเดือนกันยายน ค.ศ. 1994 ซึ่งยังไม่มีมาตรการป้องกันสำหรับภาวะไว/อาการแพ้ยางธรรมชาติ กลุ่มแรกแสดงการเกิดภาวะไวต่อยางธรรมชาติที่ร้อยละ 4.5 (1/22) เทียบกับร้อยละ 26.7 ในกลุ่มควบคุม (4/15)

บทสรุป

การใช้ยางธรรมชาติในขั้นตอนการวินิจฉัยและการบำบัดรักษาแสดงความเสี่ยงที่ชัดเจน การใช้ถุงมือยางสังเคราะห์เป็นการป้องกันหลักได้แสดงให้เห็นจำนวนอุบัติการณ์ภาวะไวต่อยางธรรมชาติที่ลดลงถึง 6 เท่า มาตรการเชิงป้องกันนี้ควรนำไปปรับใช้กับเด็กกลุ่มอื่น ๆ ที่ต้องผ่านการผ่าตัดหลายครั้ง โดยเฉพาะหากต้องรับการผ่าตัดตั้งแต่อายุยังน้อย

Download Clinical Summary as a PDF
By: A Bueno de Sá, R Faria Camilo Araujo, S Cavalheiro,2 M Carvalho Mallozi, D Solé

ความเป็นมา

การแพ้ยางธรรมชาติเป็นต้นเหตุของภูมิแพ้ที่เกิดจากการทำงาน บทความนี้อธิบายความชุกของภาวะความไวต่อยางธรรมชาติ และปัจจัยความเสี่ยงที่มีต่อเด็กและเยาวชนที่เป็นโรคมัยอีโลเมนิ่งโกซีล

ภาพรวม

ผู้ป่วยที่เป็นโรคมัยอีโลเมนิ่งโกซีลมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะความไวและภูมิแพ้ต่อยางธรรมชาติ เนื่องจากต้องผ่าตัดหลายครั้ง โรคมัยอีโลเมนิ่งโกซีลเองยังเป็นความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดภาวะความไวด้วย

ผลลัพธ์

เด็ก ๆ และเยาวชน 55 คน อายุระหว่าง 9 เดือนถึง 14 ปีได้รับการประเมินระหว่างเดือนตุลาคม ค.ศ. 2007 ถึงเดือนตุลาคม ค.ศ. 2008 เป็นระยะเวลา 6 เดือนครั้ง ผลลัพธ์แสดงออกมาว่า ผู้ป่วยร้อยละ 45 (25/55) เกิดปฏิกิริยาต่อยางธรรมชาติ และร้อยละ 25 (14/55) มีภาวะความไว และอีกร้อยละ 20 (11/55) เป็นภูมิแพ้ยางธรรมชาติ

บทสรุป

ภาวะความไว/ภูมิแพ้ยางธรรมชาติมีมากในผู้ป่วยที่เป็นโรคมัยอีโลเมนิ่งโกซีล การควบคุมการสัมผัสกับยางธรรมชาติเป็นคำแนะนำหลักสำหรับผู้ป่วยโรคภูมิแพ้

Download Clinical Summary as a PDF
By: C. Rendeli, E. Nucera, E. Ausili, F. Tabacco, C. Roncallo, E. Pollastrini, M. Scorzoni, D. Schiavino, M. Caldarelli and D. Pietrini

ความเป็นมา

บทความนี้อภิปรายถึงความชุกของความไวและอาการแพ้ยางธรรมชาติในเด็กที่เป็นโรคมัยอีโลเมนิ่งโกซีลในศูนย์สไปนาไบฟิดาแห่ง Policlinico Gemelli (โรม) ผู้ป่วยเหล่านี้สัมผัสกับยางธรรมชาติจากการผ่าตัดหลายครั้ง การใช้สายสวน และการฝังวัสดุยางธรรมชาติ

ภาพรวม

ผู้ป่วยที่เป็นโรคมัยอีโลเมนิ่งโกซีลมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะความไวและภูมิแพ้ต่อยางธรรมชาติ เนื่องจากต้องผ่าตัดหลายครั้ง ความชุกของภาวะความไวต่อยางธรรมชาติในเด็กที่เป็นโรค SB นับว่ามีจำนวนสูงสุดในหมู่ประชากรทั่วไป

ผลลัพธ์

ผู้ป่วย 60 คน อายุระหว่าง 1 ถึง 22 ปีได้รับการประเมินโดยมีค่าเฉลี่ยของการผ่าตัดอยู่ที่ 4.3 ครั้ง ผู้ป่วยร้อยละ 50 (29/60) แสดงภาวะความไวต่อยางธรรมชาติ ในขณะที่อีกร้อยละ 15 (9/60) แสดงอาการแพ้ทางคลินิก ผู้ป่วยที่มีภาวะความไวมีความเสี่ยงที่จะเจ็บป่วยด้วยปฏิกิริยาแอนาฟิแล็กซิสหากสัมผัสกับยางธรรมชาติ

บทสรุป

การใช้ห้องผ่าตัดที่ปลอดยางธรรมชาติและการจัดเตรียมผลิตภัณฑ์ที่ปลอดยางธรรมชาติสำหรับผู้ป่วยโรคสไปนาไบฟิดามีความสำคัญต่อการลดเหตุภาวะความไว/ภูมิแพ้ยางธรรมชาติ เนื่องจากจำนวนของภาวะความไวในระดับสูง มาตรการป้องกันโรคจึงมีความสำคัญเพื่อหลีกเลี่ยงการสัมผัสและป้องกันเหตุภูมิแพ้ร้ายแรงที่อาจเกิดขึ้นได้ ซึ่งวิธีนี้เองถูกนำไปปรับใช้ที่ศูนย์สไปนาไบฟิดาแห่ง Policlinico Gemelli

Download Clinical Summary as a PDF
By: V.L. Phillips, Dphil, Martha A. Goodrich, MD, MPH, and Timothy J. Sullivan, MD

ความเป็นมา

ความชุกของการแพ้ยางธรรมชาติที่เกิดจากการทำงานอยู่ที่ร้อยละ 8-17 หน่วยงานด้านสุขภาพมากมายลังเลที่จะเปลี่ยนไปเป็นสภาพแวดล้อมที่ปราศจากยางธรรมชาติ เนื่องจากต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการปรับเปลี่ยนนี้

ภาพรวม

หน่วยงานสุขภาพ 3 แห่ง (โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ โรงพยาบาลชุมชน และคลินิกผู้ป่วยนอก) ในรัฐจอร์เจียถูกนำมาศึกษาเปรียบเทียบในเรื่องจำนวนพนักงานที่ไม่สามารถทำงานได้บางส่วนหรือทั้งหมดสำหรับหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อหา “จุดคุ้มทุน” ในการเปลี่ยนจากถุงมือยางธรรมชาติไปเป็นสภาพแวดล้อมที่ปลอดยางธรรมชาติ ต้นทุนและการใช้งานถุงมือ ต้นทุนการวินิจฉัย ต้นทุนการทุพพลภาพ และต้นทุนที่ละเว้นถูกนำมาวิเคราะห์ทั้งหมด

ผลลัพธ์

หากพิจารณาที่ต้นทุนการเปลี่ยนจากถุงมือยางธรรมชาติไปเป็นยางสังเคราะห์เพียงอย่างเดียว จะเห็นว่าต้นทุนสำหรับแต่ละหน่วยงานย่อมเพิ่มขึ้น แต่ถ้ามองที่ต้นทุนถุงมือยางสังเคราะห์ และความเป็นไปได้/ความน่าจะเป็นที่บุคลากรทางการแพทย์จะไม่สามารถทำงานได้บางส่วนหรือทั้งหมดเนื่องจากการแพ้ยางธรรมชาติแล้ว จะเห็นได้ว่าการเปลี่ยนไปใช้ถุงมือปลอดยางธรรมชาติจะคุ้มค่ามากกว่าสำหรับแต่ละหน่วยงาน

บทสรุป

สำหรับโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ ซึ่งมีการใช้งานถุงมือชนิดปลอดเชื้อ/ไม่ปลอดเชื้อมากที่สุด จุด “คุ้มทุน” ของการเปลี่ยนไปใช้สภาพแวดล้อมที่ปราศจากยางธรรมชาติอยู่ที่พนักงานร้อยละ 1.07 (5 คน) ที่ไม่สามารถทำงานได้อย่างสิ้นเชิงจากการแพ้ยางธรรมชาติ หรือ (เป็นไปได้มากกว่า) พนักงานร้อยละ 1.88 (9 คน) ที่ทำงานไม่ได้บางส่วน เมื่อพิจารณาปัจจัยทั้งหมดแล้ว การศึกษานี้ยังพิสูจน์ว่าการเปลี่ยนไปเป็นสภาพแวดล้อมปลอดยางธรรมชาติด้วยการใช้ถุงมือยางสังเคราะห์จะเป็นประโยชน์ด้านต้นทุนต่อหน่วยงานสุขภาพทั้ง 3 แห่ง

By: Mathilde de Queiroz MD, Sylvie Combet MD, Jerome Berard MD PhD, Agnes Pouyau MD, Helene Genest RN, Pierre Mouriquand MD PhD and Dominique Chassard MD PhD

ความเป็นมา

ความชุกของโรคภูมิแพ้ยางธรรมชาติ (NRL) หรือการแพ้ฉับพลันในเด็กนั้นแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับกลุ่มประชากรและระเบียบวิธีในการตรวจ เด็กที่มีความเสี่ยงที่จะแพ้ยางธรรมชาติสูงรวมถึงผู้ที่เป็นโรคสไปนาไบฟิดา เด็กที่เคยผ่าตัดในช่วงแรกเกิด และเด็กอื่น ๆ ที่จำเป็นต้องผ่าตัดหลายครั้ง ใน ค.ศ. 1997 เด็กอาุยุ 2 ปีที่ได้รับการปฐมพยาบาลฉุกเฉินที่ไม่ร้ายแรงเสียชีวิตจากภาวะช็อกจากเหตุแอนาฟิแล็กซิส ตามมาด้วยเหตุแอนาฟิแล็กซิสจากยางธรรมชาติขั้นรุนแรงอีก 2 กรณี

ภาพรวม

ยางธรรมชาติพบได้บ่อยในโรงพยาบาลที่มีความเสี่ยงที่เป็นอันตรายต่อชีวิต การแพ้ยางธรรมชาติเป็นสาเหตุอันดับ 2 ของปฏิกิริยาแอนาฟิแล็กซิสระหว่างการผ่าตัด การปรับใช้สภาพแวดล้อมที่ปลอดยางธรรมชาติเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญในการลดการเกิดการแพ้ยางธรรมชาติและปฏิกิริยาแอนาฟิแล็กซิสที่อาจเกิดขึ้นได้

ผลลัพธ์

ใน ค.ศ. 2002 โรงพยาบาลแห่งนี้นำกลยุทธ์การหลีกเลี่ยงยางธรรมชาติไปปรับใช้ 5 ปีหลังจากนั้นก็ไม่มีบันทึกการเกิดแอนาฟิแล็กซิสจากยางธรรมชาติในกลุ่มผู้ป่วยหรือบุคลากรด้านการดูแลสุขภาพอีกเลย โดยมีการผ่าตัดมากถึง 25,000 ครั้ง ต้นทุนเพิ่มเติมใด ๆ ที่เกิดขึ้นในการเปลี่ยนไปใช้สภาพแวดล้อมที่ปลอดยางธรรมชาติได้รับการชดเชยแล้วจากการไม่ต้องทดสอบสารก่อภูิมิแพ้ การพักรักษาตัวในโรงพยาบาลจากเหตุแพ้และค่าชดเชยพนักงานที่ลดลง

บทสรุป

การแพ้ยางธรรมชาติ เป็นความเสี่ยงทางสุขภาพที่มีนัยสำคัญ และควรลดการสัมผัสกับยางธรรมชาติโดยเฉพาะในเด็กแรกเกิด เด็ก บุคลากรทางการแพทย์และผู้ที่เป็นภูมิแพ้กรรมพันธ์ทั้งหมด การหลีกเลี่ยงยางธรรมชาติอย่างสิ้นเชิงทั้งในและบริเวณโดยรอบห้องผ่าตัดเป็นมาตรการที่มีประสิทธิภาพที่สุด

Download Clinical Summary as a PDF
By: Robert H. Brown, M.D., M.P.H.; Mary A. McAllister, M.A.; Ann-Michele Gundlach, Ed. D.; Robert G. Hamilton, Ph.D.

ความเป็นมา

สถาบันการแพทย์ Johns Hopkins เริ่มต้นเปลี่ยนไปใช้สภาพแวดล้่อมที่ปลอดยางธรรมชาติใน ค.ศ. 1997 โดยการก่อตั้งกลุ่มงานปลอดยางธรรมชาติขึ้นมา หลังพิจารณาตัวแปรทั้งหมดอยู่หลายปี สถาบันเริ่มเปลี่ยนไปใช้ยางสังเคราะห์จากผู้ผลิตถุงมือ 2 ราย และใช้ถุงมือยางสังเคราะห์ 5 ชนิดในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2007

ภาพรวม

บทความนี้อธิบายถึงการเดินทางของสถาบัน Johns Hopkins ในการปรับใช้สภาพแวดล้อมที่ปลอดยางธรรมชาติ นี่ไม่ใช่เพียงแค่การเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ (ถุงมือ) เท่านั้น แต่ยังสื่อถึงความเชื่อของผู้นำ การศึกษาที่ต่อเนื่อง การมีส่วนร่วมของบุคลากร และการฝึกอบรม

ผลลัพธ์

สถาบัน Johns Hopkins มองหาทางเลือกใหม่ ๆ เพื่อเปลี่ยนหน่วยงานของตัวเองไปใช้ถุงมือปลอดเชื้อแบบยางสังเคราะห์ทั้งหมด พวกเขาสำรวจการซื้อขายกับผู้ผลิตสินค้าแต่เพียงผู้เดียวหลายราย หาการสนับสนุนจากทั่วทั้งองค์กร และความเชื่อมั่นจากหัวหน้าฝ่ายศัลยกรรม พวกเขาส่ง RFP ไปยังผู้ผลิตถุงมือ 4 แห่ง และในที่สุดจึงได้เลือกผู้เสนอราคาต่ำสุด 2 แห่งเพื่อมาประเมิน เมื่อประเมินแล้ว สถาบันตัดสินใจเลือกใช้ทั้ง 2 บริษัท

บทสรุป

ในการประเมินผู้ผลิตถุงมือ 2 แห่ง บุคลากรด้านการแพทย์ 412 คนทำแบบฟอร์มการประเมิน 608 ชุด โดยรวมมีอัตราการยอมรับถุงมือปลอดเชื้อแบบยางสังเคราะห์ในระดับสูง หากเลือกผู้ผลิตเพียงรายเดียว จะมีพนักงานร้อยละ 25 ไม่พอใจกับผู้ผลิตที่เลือกมานี้ ด้วยความเชื่อมั่นของผู้นำ การศึกษาอย่างต่อเนื่อง ความระมัดระวัง และแนวทางที่เป็นระบบเพื่อเปลี่ยนเป็นสภาพแวดล้่อมที่ปลอดยางธรรมชาติ สถาบัน Johns Hopkins สามารถเปลี่ยนวัฒนธรรมไปสู่สิ่งที่ดีกว่าเดิมได้

Download Clinical Summary as a PDF
By: Lauren Y. Cao, BS: James S. Taylor, MD; Apra Sood, MD; Debora Murray, LPA; Paul D. Siegel, PhD

ความเป็นมา

หนึ่งในสาเหตุที่ใหญ่ที่สุดของโรคลมพิษที่เกิดจากการสัมผัสนั้นมีความเชื่อมโยงกับถุงมือยาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีความชุกสูงสุดในหมู่บุคลากรทางการแพทย์

ภาพรวม

การศึกษาชิ้นนี้มีการตรวจสอบว่าโรคภูมิแพ้ลมพิษสัมผัส (ACD) สามารถเกิดขึ้นได้ ไม่เฉพาะจากถุงมือยางเท่านั้น แต่ยังเกิดจากผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่ยางธรรมชาติด้วยเช่นกัน ภูมิแพ้สัมผัสส่วนใหญ่มีความเชื่อมโยงกับสารเร่งปฏิกิริยาที่ใช้ในยาง เพื่อเร่งกระบวนการการเกิดยางสุกให้เร็วขึ้น ผลลัพธ์

ผลลัพธ์

ผู้ป่วย 626 คนได้รับการทดสอบระหว่างวันที่ 1/5/07 ถึง 31/5/09 จากผู้ป่วย 626 คน มี 23 คนมีผลทดสอบภาวะผิวหนังอักเสบเป็นบวกเนื่องจากสารเคมีที่พบในถุงมือยางอย่างน้อย 1 ชนิด สารเคมีเร่งปฏิกิริยาหลากหลายชนิดที่พบในถุงมือยางอาจมีส่วนที่ทำให้เกิดภาวะ ACD ของผู้ป่วย นับตั้งแต่กลางทศวรรษที่ 1990 สารเคมีที่มีส่วนร่วมในการสร้างภาวะภูมิแพ้ขนานใหญ่ที่สุดชื่อว่า ไธยูแรม เริ่มเสื่อมความนิยมลง ในขณะที่คาร์บามิกซ์, ZDEC, ZBDC, และ DPG เริ่มมีการนำมาใช้มากขึ้น ผู้ผลิตมองหาทางเลือกเพื่อลดหรือกำจัดสารเร่งปฏิกิริยาบางตัว และนำสารใหม่ ๆ เข้ามาใช้

บทสรุป

วิธีเดียวที่จะรักษาโรค ACD ที่วินิจฉัยแล้วว่าเกิดจากสารเคมีเนื่องจากการใช้ถุงมือ คือการใช้ถุงมือที่ปราศจากสารก่อภูมิแพ้ที่ผู้ป่วยทดสอบแล้วว่าทำให้เกิดอาการแพ้ และ/หรือหยุดใช้ถุงมือ การทดสอบแบบแพชเทสต์เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการเปิดเผยสารเคมีทั้งหมดที่ผู้ป่วยอาจสัมผัสและเกิดปฏิกิริยา การเปลี่ยนแปลงจากโรค ACD และภาวะความไวต่อสารเร่งปฏิกิริยาของถุงมือยางจากไธยูแรมไปเป็นคาร์บามิกซ์เกิดขึ้นบ่อยขึ้นในวงการการดูแลสุขภาพ

Download Clinical Summary as a PDF
By: Ann Ponten, Nils Hamnerius, Magnus Bruze, Christer Hansson, Christina Persson, Cecilia Svedman, Kirsten Thorneby Andersson, and Ola Bergendorff

ความเป็นมา

ในช่วงเวลาไม่นานมานี้ บุคลากรในห้องผ่าตัด เช่น แพทย์และพยาบาลศัลยกรรมเป็นโรคลมพิษสัมผัสจากการทำงานที่บริเวณมือกันเพิ่มมากขึ้น มีการตั้งข้อสงสัยว่า สารเคมีในสารเติมแต่งของยางที่อยู่ในถุงมือผ่าตัดอาจเป็นตัวบ่งชี้ได้

ภาพรวม

วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้คือการประเมินผู้ป่วยที่วินิจฉัยว่าเป็นโรคลมพิษสัมผัสจากการทำงานที่เกิดจากการใช้ถุงมือ ส่วนที่ 2 ของการศึกษานี้คือการประเมินถุงมือที่ผู้ป่วยใช้งาน ชุดพื้นฐาน และชุดสารจากยางของถุงมือ โดยนำวิธีการทดสอบแบบแพชเทสต์มาใช้ มีการวิเคราะห์ด้านในและด้านนอกถุงมือด้วยเช่นกัน

ผลลัพธ์

ผู้ป่วย 7 จาก 8 คนมีปฏิกิริยากับเซทิลไพริดิเนียมคลอไรด์ ผู้ป่วย 8 จาก 16 คนแสดงปฏิกิริยาภูมิแพ้ต่อไธยูแรมมิกซ์ ผู้ป่วย 12 จาก 16 คนแสดงปฏิกิริยาภูมิแพ้ต่อสาร DPG มีการพบสารเซทิลไพริดิเนียมและ DPG ทั้งด้านในและด้านนอกถุงมือ แต่ด้านในถุงมือมีปริมาณความเข้มข้นสูงกว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่ทำงานในอาชีพปัจจุบันมาหลายสิบปี และเพิ่งมีการรายงานภาวะลมพิษบริเวณมือเมื่อไม่กี่เดือนมานี้

บทสรุป

มีการสรุปในการศึกษานี้ว่า น่าเสียดายที่การเปลี่ยนวัสดุของถุงมือเนื่องจากอาการแพ้ยางธรรมชาติเป็นถุงมือยางสังคราะห์ไม่ได้ลดความเสี่ยงของภาวะความไวต่อสารเร่งปฏิกิริยาที่พบในถุงมือได้ สารเร่งปฏิกิริยายาง DPG และเซทิลไพริดิเนียมคลอไรด์ ซึ่งเป็นสารหล่อลื่นตรวจสอบแล้วพบว่ามีปฏิกิริยาเป็นบวก ซึ่งอาจเป็นสาเหตุสำหรับโรคลมพิษสัมผัสจากการทำงาน

Download Clinical Summary as a PDF
By: Johannes Geier, Holger Lessman, Vera Mahler, Ute Pohrt, Wolfgang Uter, and Axel Schnuch

ความเป็นมา

ภูมิแพ้ที่เป็นผลมาจากถุงมือยางทำให้เกิดโรคลมพิษสัมผัสนั้นมีผลมาจากสารเร่งปฏิกิริยาเป็นส่วนใหญ่ จากสารก่อภูมิแพ้ทั้งหมดที่ระบุได้ พบสารไธยูแรมได้บ่อยที่สุด โดยที่สารไดไทโอคาร์บาเมตพบได้บ่อยเป็นอันดับ 2

ภาพรวม

การศึกษานี้ตรวจสอบข้อมูลจากเครือข่ายข้อมูลของแผนกตัจวิทยา (IVDK) ตั้งแต่ ค.ศ. 2002-2010 ผู้เขียนตรวจสอบข้อมูลเพื่อดูว่ามีรูปแบบในผู้ป่วยที่เป็นโรคภูมิแพ้ลมพิษสัมผัสจากการสวมใส่ถุงมือยางหรือไม่

ผลลัพธ์

7 จาก ค.ศ. 2002-2010 มีการทดสอบผู้ป่วย 93,615 ราย ผู้ป่วย 14,148 ราย (ร้อยละ 15.1) ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคลมพิษสัมผัสจากการทำงาน จากผู้ป่วย 14,148 ราย พบว่าผู้ป่วย 3,448 ราย (ร้อยละ 24.4) ได้รับการทดสอบเพิ่มเติมเพื่อดูว่าผู้ป่วยมีปฏิกิริยากับการแพ้ถุงมือหรือไม่ ผู้ป่วย 3,448 รายได้รับการทดสอบแบบแพชเทสต์ของสารก่อภูมิแพ้ที่พบได้ทั่วไปในการผลิตถุงมือเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นของถุงมือ ซึ่งได้แก่ไธยูแรมมิกซ์ (1%), ZDEC ( 1%), MBT (2%) และเมอร์แคปโตมิกซ์ (1%) สารไธยูแรมเป็นสารก่อภูมิแพ้ที่พบได้บ่อยที่สุดที่ร้อยละ 13.0

บทสรุป

มีคำแนะนำอย่างยิ่งให้บังคับผู้ผลิตถุงมือติดฉลากแสดงสารเคมีเร่งปฏิกิริยาลงบนบรรจุภัณฑ์ถุงมือ ในช่วง 17 ปีที่ผ่านมา การพบภาวะภูมิแพ้สัมผัสจากสารเร่งปฏิกิริยาในถุงมือยืดหยุ่นยังคงมีความชุกอยู่ และไม่เปลี่ยนแปลงไปเลย นอกจากนี้ยังมีคำแนะนำให้นำถุงมือปลอดสารไธยูแรมออกสู่ตลาด เพื่อหวังที่จะป้องกันภาวะความไวต่อสารไธยูแรมเพิ่มเติม

Download Clinical Summary as a PDF
By: Margo J. Bendewald, Sara A. Farmer, and Mark D.P. Davis

ความเป็นมา

การพบโรคลมพิษสัมผัสเนื่องจากสารเคมีที่พบในยางมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ยางสังเคราะห์ (ไม่ใช่ยางธรรมชาติ) พบได้มากขึ้นในผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์และผลิตภัณฑ์ในครัวเรือนเนื่องจากภูมิแพ้ยางธรรมชาติ สารก่อภูมิแพ้จากยางตอนนี้เป็นส่วนประกอบสำคัญที่ทำให้เกิดโรคภูมิแพ้ลมพิษสัมผัส

ภาพรวม

ผู้เขียนได้ศึกษาการทดสอบแบบแพชเทสต์กับผู้ป่วยตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 2000 จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม ค.ศ. 2007 ผู้ป่วยได้รับการทดสอบแพชเทสต์ด้วยชุดสารก่อภูมิแพ้มาตรฐาน และชุดสารก่อภูมิแพ้จากยางโดยเฉพาะ ก่อนหน้านี้ผู้ป่วยทั้งหมดมีข้อสงสัยว่าจะเป็นโรคภูมิแพ้ลมพิษสัมผัส และได้รับการส่งตัวไปยัง Mayo Clinic เพื่อรับการทดสอบแบบแพชเทสต์ เป้าหมายของการศึกษาคือเพื่อรายงานผลจากชุดสารก่อภูมิแพ้มาตรฐาน และชุดสารก่อภูิมิแพ้ยางโดยเฉพาะ เพื่อเปิดเผยอัตราการเกิดปฏิกิริยาต่อยางด้วยการทดสอบการแพ้แบบแพชเทสต์ทั้งหมด

ผลลัพธ์

บริเวณที่พบโรคภูมิแพ้ลมพิษสัมผัสได้บ่อยที่สุดคือที่มือ (ร้อยละ 49.7) และอาชีพที่พบได้บ่อยที่สุดในการเป็นภูมิแพ้ลมพิษสัมผัสคือกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ (ร้อยละ 16.3) ผู้ป่วยได้รับการทดสอบด้วยชุดสารก่อภูมิแพ้ยางที่มีสารก่อภูมิแพ้ 27 ชนิด และชุดมาตรฐานที่มีสารก่อภูมิแพ้ยาง 6 ชนิด จากผู้ป่วย 773 ราย ผู้ป่วย 739 รายได้รับการทดสอบด้วยชุดสารก่อภูมิแพ้มาตรฐานและชุดสารก่อภูมิแพ้ยาง ผู้ป่วย 245 ราย (ร้อยละ 31.7) มีปฏิกิริยาเป็นบวกกับสารก่อภูมิแพ้ยางอย่างน้อย 1 ชนิด ในชุดสารก่อภูมิแพ้ยาง 4,4-ไดไทโอไดมอโฟลีน 1% แสดงปฏิกิริยาเป็นบวกด้วยจำนวนสูงที่สุด (ร้อยละ 9.8) ปฏิกิริยาแพ้ที่มีจำนวนมากที่สุดเป็นอันดับ 2 คือ ไธยูแรมมิกซ์ที่ร้อยละ 7.6

บทสรุป

เมื่อใช้ชุดสารก่อภูมิแพ้ยางในการศึกษานี้ จำนวนของผู้ป่วยที่มีปฏิกิริยาเป็นบวกในการทดสอบแบบแพชเทสต์เพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวเมื่อวินิจฉัยโรคภูมิแพ้ยาง ควรพิจารณาที่จะรวมชุดสารก่อภูมิแพ้ยางโดยเฉพาะมาใช้ทดสอบผู้ป่วยเพื่อตรวจหาอาการแพ้ยางแบบภูมิแพ้ลมพิษสัมผัส

Download Clinical Summary as a PDF
By: Marie Baeck, Benedicte Cawet, Dominique Tennstedt and An Goossens

ความเป็นมา

ถุงมือผ่าตัดยางธรรมชาติถูกกำจัดออกไปและแทนที่ด้วยถุงมือยางสังเคราะห์ (Esteem micro; Medline international) นับตั้งแต่มีการปรับใช้แนวทางนี้ โรงพยาบาลพบกับเหตุภูมิแพ้สัมผัสเพิ่มขึ้นในหมู่ศัลยแพทย์ พยาบาลห้องผ่าตัด และวิสัญญีแพทย์ บุคลากรด้านการดูแลสุขภาพส่วนใหญ่นี้ไม่มีประวัติโรคผิวหนังที่มือแม้จะทำงานมาหลายสิบปีแล้วก็ตาม

ภาพรวม

บทความนี้อภิปรายถึงจำนวนภูมิแพ้สัมผัสที่เพิ่มขึ้นจากคลินิกมหาวิทยาลัย Saint-Luc และโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย KU Leuven (เบลเยียม) หลังเปลี่ยนจากถุงมือยางธรรมชาติมาใช้ถุงมือยางสังเคราะห์ ทั้งถุงมือยางธรรมชาติและถุงมือยางสังเคราะห์มีสารเติมแต่งยาง

ผลลัพธ์

พนักงานห้องผ่าตัด 8 คนจากโรงพยาบาล 2 แห่งเป็นผื่นที่บริเวณมือระหว่างเดือนธันวาคม ค.ศ. 2010 ถึงเดือนตุลาคม ค.ศ. 2011 โดยเกี่ยวข้องกับการใช้ถุงมือยางสังเคราะห์ (Esteem Micro) การทดสอบแบบแพชเทสต์แสดงปฏิกิริยาเป็นบวกต่อถุงมือ 1.3-ไดฟีนีลกัวนิดีน (DPG) ยังไม่ถูกพิจารณาว่าเป็นสารกระตุ้นอาการแพ้ที่พบบ่อย อย่างไรก็ตาม ในตัวอย่างนี้ผู้ป่วยร้อยละ 62.5 (5/8) มีปฏิกิริยากับสารเคมีชนิดนี้เมื่อปีที่ผ่านมาจากการใช้ถุงมือยางสังเคราะห์ คำอธิบายที่เป็นไปได้ต่อการเพิ่มขึ้นของอาการแพ้ถุงมือยางสังเคราะห์คือ การใช้สารเซทิลไพริดิเนียมคลอไรด์ ซึ่งเป็นสารระคายเคืองอยู่แล้ว สามารถเพิ่มความเสี่ยงที่จะกระตุ้นอาการแพ้ต่อสารเติมแต่งยาง หรือการใช้สารเร่งปฏิกิริยาเคมีที่มีความเข้มข้นสูงขึ้น

บทสรุป

การเกิดโรคภูมิแพ้สัมผัสเพิ่มสูงขึ้นหลังการเปลี่ยนจากถุงมือยางธรรมชาติไปใช้ถุงมือยางสังเคราะห์แทน (Esteem micro) DPG มีส่วนเกี่ยวข้องในกรณีส่วนใหญ่ ซึ่งบังเอิญไปสองคล้องกับรายงานเมื่อเร็ว ๆ นี้ที่ระบุถึงการเพิ่มขึ้นของโรคภูมิแพ้สัมผัสที่มีสาเหตุจาก 1.3-ไดฟีนีลกัวนิดีน

Download Clinical Summary as a PDF
By: G. Piskin, M. M. Meijs, R. van der Ham and J. D. Bos

ความเป็นมา

มีการใช้สารเคมีในการผลิตถุงมือยาง และสารเคมีเหล่านี้สามารถก่อให้เกิดโรคผิวหนังที่มือทั้งจากการทำงานและไม่เกี่ยวข้องกับการทำงาน

ภาพรวม

มีการระบุถึงการส่งตัวพนักงานประจำห้องผ่าตัดไปรักษาโรคผิวหนังที่มือจากการทำงานที่ศูนย์การแพทย์วิชาการแห่งมหาวิทยาลัยอัมสเตอร์ดัม (เนเธอร์แลนด์) เพิ่มมากขึ้น

ผลลัพธ์

มีพนักงานในห้องผ่าตัดจำนวน 5 รายถูกส่งตัวไปฝ่าย ตัจวิทยาระหว่างเดือนเมษายนถึงมิถุนายน ค.ศ. 2005 พนักงานร้อยละ 80 (4/5) แสดงปฏิกิริยาเป็นบวกกับสาร 1.3-ไดฟีนีลกัวนิดีน (DPG) และสารนี้เองเป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของโรคผิวหนังภูมิแพ้สัมผัสที่เกี่ยวข้องกับสารเคมียาง สารเคมีชนิดนี้ใช้กันทั่วไปในอุตสาหกรรมมากกว่าแค่ในถุงมือยาง ซึ่งเป็นข้ออธิบายถึงจำนวนการแพ้ที่ต่ำกว่าในการศึกษาก่อนหน้านี้ อย่างไรก็ตาม นับตั้งแต่ ค.ศ. 2001 ในโรงพยาบาลแห่งนี้ ถุงมือยางสังเคราะห์ซึ่งมี DPG ค่อย ๆ เข้ามาแทนที่ถุงมือยางธรรมชาติ ที่อาจเป็นการอธิบายถึงจำนวนที่เพิ่มขึ้นนี้

บทสรุป

สาร 1.3-ไดฟีนีลกัวนิดีน (DPG) เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของโรคผิวหนังภูมิแพ้สัมผัสที่เกี่ยวข้องกับสารเคมียางที่รายงานในบทความนี้ แต่ขนาดตัวอย่างยังถือว่าน้อยอยู่

Download Clinical Summary as a PDF

เข้าร่วมการสนทนา